หน้าแรก  โปรแกรมขนส่ง ราคาจำหน่าย แหล่งความรู้ ติดต่อเรา
   
 

จากทีมงาน MyJAS
 

แม้ว่าเราจะไม่ใช่บริษัทขนส่งสินค้า  แต่เราก็ได้ติดตามข่าวสาร ความเคลื่อนไหว และความรู้ต่างๆ ในวงการมาโดยตลอด  เราจึงได้รวบรวมบทความต่างๆ ไว้ เพื่อให้ท่าน Download ไปอ่านฟรี  ทั้งนี้เพื่อเป็นวิทยาทาน

 

1. การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของไทยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

   วิไลพร ลิ่วเกษมศานต์ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

   การสัมมนาเรื่อง “เปิดพิมพ์เขียวขอนแก่นมหานครไอซีที สู่ศูนย์กลางโลจิสติกส์อินโดจีน”
   จันทร์ที่ 17 ตุลาคม 2545 เวลา 10.20-11.45 น. ณ ห้องศรีจันทร์ 2 โรงแรมเจริญธานี  

   จังหวัดขอนแก่น Download

 

2.เปิดพิมพ์เขียวขอนแก่น มหานครแห่งไอซีที สู่ศูนย์กลางโลจิสติกส์

  สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

  17 ตุลาคม 2548 Download

3.UPS-MIT
   MIT Sloan School of Management
   August,2004
Download

4.Thai RFID Cluster

   สวทช. สิงหาคม 2005 Download
 

5. RFID หนึ่งในเทคโลยีที่น่าจับตามอง

NECTEC Download

 
 



 

6.บทความ เวทีทัศนะ : RFID : เทคโนโลยีที่อเมริกันยังจด ๆ จ้อง ๆ

โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์ 8 ธันวาคม 2548 17:40 น.

สายัณห์ จันทร์วิภาสวงศ์

ผมได้มีโอกาสรับรู้ ดูงาน Logistics ที่อเมริกาเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2548 จึงอยากจะนำเรื่อง RFID มาเล่าสู่กัน

RFID หรือคือคำย่อจาก Radio Frequency Identification เป็นเทคโนโลยีที่มีมานานแล้ว แต่เราอาจจะไม่ได้ให้ความสนใจเท่าที่ควร เพราะอาจจะดูว่าทันสมัยและแพงเกินความจำเป็น

RFID เป็นเทคโนโลยีที่ใช้คลื่นวิทยุในการตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ใช้ได้ในธุรกิจหลาย ๆ ประเภท เป็นต้นว่า ใช้ตรวจสอบสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์ ใช้ตรวจสอบจัดเก็บและเบิกสินค้าในคลังสินค้า ใช้ในห้างสรรพสินค้า ใช้ในไร่ปศุสัตว์

ตัวอย่างง่าย ๆ ที่เราเห็นและสัมผัสได้ในบ้านเราก็คือ เวลาที่เราเข้าไปในห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ เราจะเห็นปุ่มหรือแถบใหญ่ ๆ ขาว ๆ (บางแห่งก็เป็นสีเทา) เราเรียกมันว่า Tag ติดอยู่กับกางเกง เสื้อ กระโปรงที่มีราคาแพง หรือติดกับขวดเหล้าที่มีราคาแพง หากเราเผลอเดินถือของที่ติดปุ่มขาว ๆ เหล่านั้นออกจากห้างสรรพสินค้าโดยลืมจ่ายเงิน มันก็จะมีเสียงดังเกิดขึ้น คนเก็บเงินที่โต๊ะแคชเชียร์ก็จะเรียกคนมาจับเราข้อหาลักทรัพย์ เพราะเจ้าปุ่มที่ติดกับเสื้อผ้าและมีคนถือมันเดินผ่านเครื่องอ่าน (Reader) ซึ่งติดอยู่ตรงทางออก ก็จะส่งคลื่นสัญญาณเป็นเสียงเตือนว่ามีของออกจากช่องจ่ายเงินโดยยังไม่ได้ชำระเงิน

เจ้า RFID นี้ บางบริษัทในประเทศไทยได้เริ่มทดลองใช้แล้ว ต้องยอมรับว่า มันมีประโยชน์มากเพราะช่วยลดเวลาในการทำงาน โดยเฉพาะระบบการตรวจสอบสินค้าเข้าออกจากโรงงานเพราะตัว Tag หรือคือตัวที่ติดกับตัวสินค้านั้น (ซึ่งโรงงานบางแห่งติดกับตัวกุญแจที่เปิด-ปิดตู้คอนเทนเนอร์) จะบรรจุข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวกับสินค้าซึ่งอยู่ในตู้คอนเทนเนอร์ เมื่อตู้คอนเทนเนอร์ซึ่งอยู่บนรถเคลื่อนผ่านประตู และมีตัว Reader อยู่ตรงปากประตู ตัว Reader ก็จะส่งข้อความไปที่คอมพิวเตอร์ว่า ของในตู้คอนเทนเนอร์มีอะไร เป็นสินค้าตัวไหน รุ่นอะไร ราคาเท่าไหร่ Invoice เบอร์อะไร ตู้คอนเทนเนอร์เบอร์อะไร รถที่ใช้บรรทุกตู้คอนเทนเนอร์เลขทะเบียนอะไร จะขนตู้คอนเทนเนอร์ไปไหน ออกจากโรงงานกี่โมง

ข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวกับสินค้า รถบรรทุกและรายละเอียดอื่น ๆ ที่ต้องการรู้จะอยู่ใน Tag ที่ติดกับตู้คอนเทนเนอร์ไปปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์ผ่านตัว Reader

ไม่เพียงเท่านั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลโดยผ่าน Internet ได้ด้วย

เช่น ผมอยากทราบว่า กุ้งกุลาดำของผม 10 ตู้ที่ส่งไปนิวยอร์กอยู่ในเรือลำไหน ตู้คอนเทนเนอร์เบอร์อะไร ก็ดูได้จาก Website เลย

ถามว่า ข้อมูลเหล่านี้มาจากไหน คำตอบก็คือมาจากการ enter ข้อมูลเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์

ปัจจุบัน RFID ที่ใช้ในประเทศไทย ส่วนมากใช้กับสินค้าที่จัดเก็บขนย้ายโดยระบบ Pallet โดยติด Tag ไว้ที่ Pallet หรือที่ตู้คอนเทนเนอร์ ในต่างประเทศ RFID ใช้ในไร่ปศุสัตว์เพื่อติดตามว่าสัตว์แต่ละตัวอยู่ในบริเวณไหนของทุ่งหญ้า บางแห่ง เช่น ที่ Wall-Mart สหรัฐอเมริกา เริ่มใช้ RFID ในตัวสินค้าและกำหนดให้ Supplier ในต่างประเทศต้องใช้ระบบ RFID

"จุดมุ่งหมายของการใช้ RFID ก็เพื่อต้องการความสะดวก รวดเร็วในการติดตามตัวสินค้า ทั้งในคลังสินค้าและระหว่างการขนส่ง การลดระบบงานและเอกสาร รวมถึงความรวดเร็ว แม่นยำในการกำหนดกลยุทธ์และแผนปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งจะนำไปสู่การลดต้นทุนในด้าน Logistics และสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้ลูกค้า"

อย่างไรก็ตาม แม้ RFID จะเป็นเทคโนโลยีที่ดี แต่มันก็เป็นเพียงเทคโนโลยีอย่างหนึ่งในการกระบวนการของ Logistics ซึ่งจะต้องลงทุนขั้นต้นสูง การจะปรับระบบ Logistics ให้มีประสิทธิภาพเพื่อบรรลุเป้าหมายที่แท้จริงด้านการลดต้นทุนและสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้านั้น คงไม่พิจารณาแต่เพียงการนำเทคโนโลยีมาใช้เท่านั้น แต่ต้องพิจารณากระบวนการทั้งหมดของ Logistics ทั้งภายในและภายนอกองค์กร รวมถึงบุคลกรในองค์กรด้วย

จากการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ Logistics ที่อเมริกาเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2548 ได้ข้อมูลว่าบริษัทที่ใช้ RFID ในงาน Logistics ที่อเมริกานั้น มีเพียง 4% อีก 96% ยังคงใช้ระบบ Barcode อยู่

สาเหตุที่ RFID ในอเมริกายังไม่แพร่หลายเพราะต้องลงทุนสูง ฝรั่งที่ผมคุยด้วยบอกว่า บริษัทส่วนใหญ่ยังไม่อยากลงทุน อยากจะให้ Wal-Mart หรือบริษัทอื่น ๆ ที่ใช้ RFID ทำไปก่อน เพื่อดูผลดี-ผลเสีย หากเห็นว่าเหมาะสม คุ้มทุน และได้ประโยชน์จริง ๆ จึงจะลงทุน

อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่าอีกไม่เกิน 3 - 5 ปี RFID จะเป็นเทคโนโลยีที่จะใช้แพร่หลายในระบบ Logistics และ Supply Chain บริษัทใหญ่ ๆ หรือองค์กรรัฐวิสาหกิจของรัฐจะเริ่มต้นก่อน แม้แต่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยก็เริ่มต้นกับ RFID แล้ว

การจะเริ่มต้น RFID ในขณะนี้ โดยศึกษาลักษณะ ข้อดี-ข้อเสีย การศึกษาระบบการจัดการ Logistics ขององค์กร และกำหนดแผนฝึกอบรมบุคลากรแต่เนิ่น ๆ จึงเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันที่ดี
   

หากบทความใดเป็นลิขสทธิ์ทางกฏหมาย ขอท่านอีเมล์แจ้งทางเราด้วยนะครับ เพื่อที่เราจะได้ลบบทความทิ้งไป


 

 
 
 

 

<